หน้าแรก คู่มือการใช้งาน ผังครอบครัว เหตุการณ์สำคัญ ผู้ดูแลผังครอบครัว เทคนิคการแต่งภาพผู้ทำเว็บ

สารบัญคู่มือการใช้งาน
หน้า 1 ผังครอบครัว
หน้า 2 เครื่องมือสำหรับสร้างผังครอบครัว
หน้า 3 บันทึกเรื่องราวของบุคคลในผังครอบครัว
หน้า 4 ดูข้อมูลของบุคคลในผังครอบครัว
หน้า 5 มีคู่สมรสหลายคน
หน้า 6 เชื่อมต่อผังครอบครัว
หน้า 7 สังคมแห่งการแบ่งปัน
คู่มือ BigFamilies


วิดีโอคู่มือการใช้งาน



หน้าที่ผ่านมา คู่มือการใช้งาน หน้า 2 หน้าถัดไป


เครื่องมือสำหรับสร้างผังครอบครัว


การเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลออนไลน์จำเป็นต้องลงทะเบียนซึ่งเปรียบเสมือนการจับจองพื้นที่เพื่อสร้างบ้าน
ผู้ลงทะเบียนมีฐานะเป็นผู้ดูแลผังครอบครัวเปรียบเสมือนเจ้าบ้าน
เมื่อลงทะเบียนเสร็จจะได้เลขประจำครอบครัว เปรียบเสมือนบ้านเลขที่
ผู้ดูแลผังครอบครัวเป็นผู้สร้างสมาชิกในผังครอบครัว
สมาชิกในผังครอบครัวเปรียบเสมือนผู้อาศัยในบ้าน
สมาชิกแต่ละคนมีเลขประจำตัวที่ไม่ซ้ำกันเปรียบเสมือนเลขประจำตัวประชาชน
เลขประจำตัวของทุกผังครอบครัวถูกกำหนดโดยระบบเริ่มจาก 1, 2, 3, ... ตามลำดับการสร้างของผู้ดูแลผังครอบครัว

หน้าที่ของผู้ดูแลผังครอบครัว
1) ลงทะเบียนและกำหนดรหัสผ่านของผู้ดูแลผังครอบครัวและรหัสผ่านของสมาชิก
2) สร้างโครงของผังครอบครัวเพื่อรองรับสมาชิกทุกคนในครอบครัว
3) ดูแลรหัสผ่านส่วนตัวของสมาชิกทุกคนในผังครอบครัว
4) เชื่อมผังครอบครัวของตนกับผังครอบครัวของญาติเพื่อสร้างผังเครือญาติ

ลงทะเบียน
ผู้ดูแลผังครอบครัวเป็นตัวแทนของครอบครัว ทำหน้าที่ลงทะเบียนโดยใช้ email ของผู้ดูแลผังครอบครัว และกำหนดรหัสผ่าน 2 ตัว
รหัสผ่านตัวที่ 1 สำหรับผู้ดูแลผังครอบครัวใช้เอง เพื่อ login เข้าระบบในฐานะผู้ดูแลผังครอบครัว
รหัสผ่านตัวที่ 2 สำหรับสมาชิกทุกคนใช้ login เข้าระบบในฐานะสมาชิกในผังครอบครัว
หลังจากลงทะเบียนเสร็จจะได้เลขประจำครอบครัว
คลิกที่นี่เพื่อลงทะเบียน


สร้างโครงของผังครอบครัว
ผู้ดูแลผังครอบครัว login โดยใช้ email ที่ลงทะเบียนไว้และใส่รหัสผ่านในช่องที่ 1 ซึ่งเป็นรหัสผ่านสำหรับผู้ดูแลผังครอบครัว

จากนั้นเข้าไปที่ "ผังครอบครัว"
ถ้ายังไม่มีใครอยู่ในผังครอบครัว (เข้าผังครอบครัวครั้งแรก) จะปรากฏแบบฟอร์มให้กรอกรายละเอียดของสมาชิกคนที่ 1 (เลขประจำตัวบุคคล 1)

ผู้ดูแลผังครอบครัวกรอกเฉพาะชื่อและนามสกุล หรือ ชื่อเล่น เพื่อให้รู้ว่าบุคคลที่ได้เลขประจำตัว 1 คือใคร ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ เว้นไว้ให้เจ้าของข้อมูลมากรอกเอง

สมาชิกคนแรกในผังครอบครัวชื่อสุรศักดิ์

การเพิ่มสมาชิกในผังครอบครัวให้เพิ่มจากซ้ายไปขวา (แต่งงาน) และจากบนลงล่าง (มีบุตร)

สุรศักดิ์แต่งงาน

คลิกที่ เพื่อเพิ่มคู่สมสร แล้วกรอกชื่อคู่สมรส
รูป อยู่ระหว่างบุคคลทั้งสองหมายถึงสองคนแต่งงานกัน


สุรศักดิ์มีบุตรคนที่ 1

คลิกที่ ของสุรศักดิ์
เพื่อเพิ่มบุตรคนที่ 1 ชื่อ "จิรัสยา"

สุรศักดิ์มีบุตรคนที่ 2

คลิกที่ ของสุรศักดิ์
เพื่อเพิ่มบุตรคนที่ 2 ชื่อ "สมเกียรติ"

สุรศักดิ์มีบุตรคนที่ 3

คลิกที่ ของสุรศักดิ์
เพื่อเพิ่มบุตรคนที่ 3 ชื่อ "ผ่องพรรณ"

สมเกียรติแต่งงาน

คลิกที่ ของ "สมเกียรติ" เพื่อเพิ่มคู่สมรสชื่อ "วันทนา"

สมเกียรติมีบุตรคนที่ 1

คลิกที่ ของ "สมเกียรติ" เพื่อเพิ่มบุตรคนที่ 1 ชื่อ "วารี"

สมเกียรติมีบุตรคนที่ 2

คลิกที่ ของ "สมเกียรติ" เพื่อเพิ่มบุตรคนที่ 2 ชื่อ "ปทุม"



เลขประจำตัว (ID)
เลขประจำตัวเป็นเลขที่ถูกกำหนดโดยระบบ เป็นเลขประจำตัวของตำแหน่งในผังครอบครัว ไม่ใช่เลขประจำตัวของบุคคลในผังครอบครัว
ID ถูกนำไปใช้เพื่ออ้างอิงในฐานข้อมูลของระบบ เป็นการใช้งานทางด้านเทคนิค
ID ไม่มีความหมายสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป เพื่อให้เข้าใจง่ายโดยไม่ต้องใช้ศัพท์ทางเทคนิคจึงของยกตัวอย่างเปรียบเทียบ ดังนี้

ณ ร้านถ่ายรูปแห่งหนึ่ง มีเก้าอี้วางเรียงกัน เก้าอี้แต่ละตัวมีหมายเลขกำกับไว้ เก้าอี้หมายเลข 1, 2, 3 ...
ลูกค้ามาใช้บริการถ่ายภาพหมู่ของครอบครัว ลูกค้าเลือกได้ว่าจะให้ใครนั่งเก้าอี้ตัวไหน
พ่อนั่งเก้าอี้หมายเลข 1
แม่นั่งเก้าอี้หมายเลข 2
ลูกคนโตนั่งเก้าอี้หมายเลข 3
ลูกคนรองนั่งเก้าอี้หมายเลข 4

เมื่อถ่ายรูปเสร็จแล้ว ลูกค้าเปลี่ยนใจขอถ่ายใหม่ โดยเพิ่มคุณปู่และคุณย่าเข้าไปในผังครอบครัวอีก 2 คน
ร้านถ่ายรูปจึงต้องเพิ่มเก้าอี้อีก 2 ตัว คือเก้าอี้หมายเลข 5 และ 6

จัดคนนั่งใหม่
คุณปู่นั่งเก้าอี้หมายเลข 1
คุณย่านั่งเก้าอี้หมายเลข 2
คุณพ่อนั่งเก้าอี้หมายเลข 3
คุณแม่นั่งเก้าอี้หมายเลข 4
ลูกคนโตนั่งเก้าอี้หมายเลข 5
ลูกคนรองนั่งเก้าอี้หมายเลข 6

ในตัวอย่างนี้ หมายเลขเก้าอี้เปลี่ยนไม่ได้เพราะถูกพ่นสีติดอยู่กับตัวเก้าอี้
แต่คนนั่งเก้าอี้สามารถเปลี่ยนได้ โดยลุกจากเก้าอี้ตัวหนึ่ง ไปนั่งเก้าอี้อีกตัวหนึ่ง
การเปลี่ยนเก้าอี้คือการเปลี่ยนข้อมูลทุกรายการ ได้แก่ ชื่อ นามสกุล รูป ฯลฯ



หน้าที่ผ่านมา คู่มือการใช้งาน หน้า 2 หน้าถัดไป




ท่องศัพท์ด้วยภาพ

ภาพดึงดูดความสนใจได้ดีกว่าตัวหนังสือ การจับคู่ระหว่างภาพและคำศัพท์จึงช่วยให้นักเรียนจำศัพท์ได้เร็วขึ้น เทคนิคการท่องศัพท์นี้ทำให้การท่องศัพท์สนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ นักเรียนถูกทดสอบผ่านการเล่นเกม โดยเกมทำหน้าที่สุ่มคำศัพท์และรูปภาพให้นักเรียนจับคู่ การจับคู่ถูกหรือผิดมีผลต่อเหตุการณ์ในเกม ซึ่งในที่สุดจะนำไปสู่การชนะหรือแพ้

ถ้านักเรียนแพ้ จะเกิดแรงท้าทายให้แก้ตัวใหม่ การเล่นเกมแก้ตัวใหม่อีกครั้งเป็นการทบทวนศัพท์อีกรอบ นักเรียนจะถูกกระตุ้นให้เล่นเกมไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะชนะ เมื่อนักเรียนเล่นเกมจนจำศัพท์ได้ทุกคำ เขาจะชนะทุกครั้งที่แข่ง สร้างความภูมิใจให้พวกเขาและเป็นความสำเร็จของกุศโลบายการท่องศัพท์

... รายละเอียดเพิ่มเติม ...



สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย 2558-2567 Copyright (C) All rights reserved.