หน้าแรก คู่มือการใช้งาน ผังครอบครัว เหตุการณ์สำคัญ ผู้ดูแลผังครอบครัว เทคนิคการแต่งภาพผู้ทำเว็บ

สารบัญคู่มือการใช้งาน
หน้า 1 ผังครอบครัว
หน้า 2 เครื่องมือสำหรับสร้างผังครอบครัว
หน้า 3 บันทึกเรื่องราวของบุคคลในผังครอบครัว
หน้า 4 ดูข้อมูลของบุคคลในผังครอบครัว
หน้า 5 มีคู่สมรสหลายคน
หน้า 6 เชื่อมต่อผังครอบครัว
หน้า 7 สังคมแห่งการแบ่งปัน
คู่มือ BigFamilies


วิดีโอคู่มือการใช้งาน



หน้าที่ผ่านมา คู่มือการใช้งาน หน้า 6 หน้าถัดไป


เชื่อมต่อผังครอบครัว


สมาชิกในผังครอบครัวเชื่อมโยงกันด้วยเส้นสีแดง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนเส้นเลือด หมายถึงบุคคลเหล่านั้นสืบสายเลือดกันมา คู่สมรสเชื่อมกับบุคคลในครอบครัวด้วยรูปหัวใจ ไม่ได้เชื่อมด้วยเส้นแดง เพราะคู่สมรสเป็นบุคคลที่มาจากครอบครัวอื่น ไม่ใช่ผู้สือสายเลือดในครอบครัว แต่เป็นผู้ให้กำเนิดสายเลือดเส้นใหม่ที่โยงจากรูปหัวใจไปยังบุตรซึ่งอยู่ในลำดับต่ำลงมา

เนื่องจากคู่สมรสเป็นบุคคลที่มาจากครอบครัวอื่นจึงสามารถเชื่อมผังครอบครัว 2 ครอบครัวเข้าด้วยกันโดยใช้คู่สมรสเป็นจุดเชื่อม



"จิรัสยา" เกิดในผังครอบครัวหมายเลข 7 มีเลขประจำตัว 3 แต่งงานไปเป็นลูกสะใภ้ในผังครอบครัวหมายเลข 3 ได้หมายเลขประจำตัว 4
เนื่องจากเลขประจำตัวบุคคลในทุกผังครอบครัว เริ่มจาก 1, 2, 3, ... ทุกผังครอบครัวจึงมีเลขประจำตัว 1, 2, 3, ... ดังนั้นการอ้างบุคคลข้ามผังครอบครัวจึงต้องกำกับด้วยหมายเลขผังครอบครัว

บุคคลคนเดียวกันแต่อยู่ใน 2 ผังครอบครัว คือบุคคลที่ทำหน้าที่เชื่อม 2 ผังครอบครัวเข้าด้วยกัน

ส่งคำขอเชื่อมผังครอบครัว

บุคคลหมายเลข 3 ในผังครอบครัวหมายเลข 7 เป็นบุคคลคนเดียวกับ หมายเลข 4 ในผังครอบครัวหมายเลข 3 ดังนั้น "จิรัสยา" ทำหน้าที่เชื่อมผังครอบครัวหมายเลข 3 และ 7 เข้าด้วยกัน

การเชื่อมผังครอบครัวต้องมีฝ่ายหนึ่งส่งคำขอเชื่อมผังครอบครัว และอีกฝ่ายตอบรับ ในทางปฏิบัติ ผู้ดูแลผังครอบครัวหมายเลข 3 และ 7 ต้องมีการติดต่อสื่อสารกันก่อนเพื่อสอบถามหมายเลขครอบครัวและตกลงกันว่าใครจะเป็นผู้ส่งคำขอเชื่อมผังครอบครัว ใครจะเป็นผู้ตอบรับ

ผู้ดูแลผังครอบครัวหมายเลข 7 ส่งคำขอเชื่อมผังครอบครัวไปยังผู้ดูแลผังครอบครัวหมายเลข 3 โดยใช้ "จิรัสยา" เป็นจุดเชื่อม จึงส่งคำขอเชื่อมจาก "จิรัสยา" โดย คลิก ของ "จิรัสยา" แล้ว ระบุว่าส่งคำขอเชื่อมผังครอบครัวไปยังครอบครัวหมายเลข 3
หลังจากส่งคำขอเชื่อมผังครอบครัวไปแล้ว
จุดเชื่อมของ "จิรัสยา" กลายเป็น หมายถึงคอยการตอบกลับ
เมื่อผู้ดูแลผังครอบครัวหมายเลข 3 ตอบรับ จุดเชื่อมจะกลายเป็น
ถ้าผู้ดูแลผังครอบครัวหมายเลข 3 ตอบปฏิเสธ จุดเชื่อมจะกลายเป็น

ตอบรับคำขอเชื่อมผังครอบครัว

เมื่อผู้ดูแลผังครอบครัวหมายเลข 3 login เข้าผังครอบครัว คำขอเชื่อมผังครอบครัวจากครอบครัวหมายเลข 7 จะปรากฏให้ตอบรับหรือตอบปฏิเสธ

ผู้ดูแลผังครอบครัวหมายเลข 3 พิจารณาว่ารู้จักบุคคลที่เป็นจุดเชื่อมหรือไม่

ถ้าไม่รู้จัก ให้ตอบปฏิเสธคำขอเชื่อม เพราะเป็นคำขอเชื่อมที่ส่งมาผิดที่

ถ้ารู้จักให้ตอบรับ โดยระบุว่าบุคคลที่เป็นจุดเชื่อมเป็นบุคคลหมายเลขใดในผังครอบครัวที่ตนดูแล

"จิรัสยา" มีหมายเลขประจำตัว 4 ในผังครอบครัวหมายเลข 3 ผู้ดูแลผังครอบครัวจึงตอบรับโดยใส่เลขประจำตัว 4

เมื่อคำขอเชื่อมผังครอบครัวได้รับการตอบรับ
จุดเชื่อมในผังครอบครัวทั้งสองผังจะกลายเป็น
หมายถึงสมาชิกใน 2 ผังนี้สามารถข้ามไปมาระหว่างสองผังครอบครัวได้โดยคลิกที่

ฐานะบุคคล

บุคคลที่เข้าถึงผังครอบครัวมีฐานะต่างกัน 3 ฐานะ ซึ่งได้สิทธิต่างกันดังนี้
1) ผู้ดูแลผังครอบครัว เข้าผังครอบครัวโดย login ด้วยรหัสผ่านผู้ดูแลผังครอบครัว ได้สิทธิ์
2) สมาชิกในผังครอบครัว เข้าผังครอบครัวโดย login ด้วยรหัสผ่านสมาชิกในผังครอบครัว ได้สิทธิ์
3) ผู้มาเยือน เข้าผังครอบครัวโดยผ่านจุดเชื่อมของผังครอบครัว ได้สิทธิ์
หมายเหตุ
ผู้ดูแลผังครอบครัวหรือสมาชิกในผังครอบครัว เมื่อข้ามจุดเชื่อมไปผังครอบครัวอื่นจะถูกเปลี่ยนฐานะเป็น ผู้มาเยือน แม้กลับจากผังครอบครัวอื่นมายังผังครอบครัวตัวเองก็ยังคงฐานะเป็นผู้มาเยือน ซึ่งมี icon เพียง และ ถ้าต้องการกลับไปสู่ฐานะเดิมต้อง logout แล้ว login ใหม่

ผังเครือญาติ

ผังเครือญาติเกิดจากการนำผังครอบครัวหลายผังมาเชื่อมกัน เหล่าสมาชิกจากทุกผังครอบครัวสามารเข้าไปในทุกผังครอบครัวที่เชื่อมกัน ทำให้ทุกคนสามารถทำความรู้จักกัน โดยเข้าไปดูข้อมูลของเครือญาติ

การดูแลผังครอบครัวขนาดใหญ่เป็นเรื่องยุ่งยาก ผู้ดูแลผังครอบครัวไม่มีอายุยืนพอที่จะดูแลคนได้หลายรุ่น วิธีจัดการที่เหมาะสมคือแยกผังครอบครัวเป็นขนาดที่ไม่ใหญ่ แต่ละผังครอบครัวมีผู้ดูแล แล้วนำผังครอบครัวเหล่านั้นมาเชื่อมกัน เมื่อคนรุ่นหนึ่งหมดอายุลง คนรุ่นถัดไปสร้างผังครอบครัวต่อ แล้วนำมาเชื่อมกับผังครอบครัวของบรรพบุรุษ เกิดเป็นผังเครือญาติที่ขยายตัวออกไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด

ตัวอย่าง ผังเครือญาติ



ผังครอบครัวนี้มีขนาดใหญ่เกินไป ผู้ดูแลผังครอบครัวไม่มีอายุยืนพอที่จะบริหารผังนี้ วิธีจัดการที่เหมาะสมคือแยกเป็นผังครอบครัว 4 ผัง มอบให้ผู้ดูแลผังครอบครัว 4 คน ดูแลผังครอบครัวของตัวเอง แล้วนำผังทั้ง 4 ผังมาเชื่อมกันเป็นผังเครือญาติ โดยใช้บุตรทั้ง 4 คนเป็นจุดเชื่อม

ผังใหญ่นี้ถูกแยกเป็นผังหลักหนึ่งผัง และผังย่อย 4 ผัง มีผู้ดูแลผังครอบครัว 5 คน

ผังหลักเป็นจุดศูนย์กลางของการเชื่อม บุตรทั้ง 4 คนทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมจากผังหลักไปยังผังย่อยที่ 1, 2, 3 และ 4

ผังหลักเป็นผังของบรรพบุรุษในระดับบนสุด email สำหรับ login คือ main@bigfamilies.net รหัสผ่านสมาชิกในครอบครัวคือ star
ผังย่อยที่ 1 เป็นผังของลูกคนที่ 1 email สำหรับ login คือ 1@bigfamilies.net รหัสผ่านสมาชิกในครอบครัวคือ star
ผังย่อยที่ 2 เป็นผังของลูกคนที่ 2 email สำหรับ login คือ 2@bigfamilies.net รหัสผ่านสมาชิกในครอบครัวคือ star
ผังย่อยที่ 3 เป็นผังของลูกคนที่ 3 email สำหรับ login คือ 3@bigfamilies.net รหัสผ่านสมาชิกในครอบครัวคือ star
ผังย่อยที่ 4 เป็นผังของลูกคนที่ 4 email สำหรับ login คือ 4@bigfamilies.net รหัสผ่านสมาชิกในครอบครัวคือ star

นอกจากนี้ผังย่อยที่ 1 ยังมีจุดเชื่อมไปยังผังครอบครัวของลูกสะใภ้ชื่อ "จิรัสยา"
email สำหรับ login เข้าผังครอบครัวของลูกสะใภ้คือ ju@bigfamilies.net รหัสผ่านสมาชิกในครอบครัวคือ star

สมาชิกทุกคนในผังครอบครัวทั้ง 6 ผังนี้สามารถเข้าไปดูข้อมูลของสมาชิกทุกคนในทุกผังโดยไม่ต้องรู้รหัสผ่านของผังครอบครัวอื่น ทุกคน login เข้าผังครอบครัวของตนเอง แล้วข้ามไปผังครอบครัวอื่นโดยผ่าน ที่เป็นจุดเชื่อม

คลิกที่นี่เพื่อ login แล้วใช้ email และรหัสผ่านข้างต้น เพื่อเข้าไปดูตัวอย่างผังเครือญาติ





ความสูงของผังครอบครัว

ผังครอบครัวแต่ละผังมีความสูงไม่เกิน 4 ชั้น รองรับคนได้ไม่เกิน 4 รุ่น สมาชิกที่อยู่ในรุ่นที่ 4 (แถวล่างสุด) ไม่มีคำสั่ง และ จึงไม่สามารถสร้างผังครอบครัวต่อ ทายาทรุ่นที่ 4 ต้องลงทะเบียนเป็นผู้ดูแลผังครอบครัวรุ่นถัดไป เพื่อสร้างผังครอบครัวของตนเอง แล้วนำมาเชื่อมกับผังครอบครัวของบรรพบุรุษ เกิดเป็นเครือข่ายผังครอบครัว ที่สามารถขยายออกไปได้เรื่อย ๆ ไม่มีขีดจำกัด


หน้าที่ผ่านมา คู่มือการใช้งาน หน้า 6 หน้าถัดไป




ท่องศัพท์ด้วยภาพ

ภาพดึงดูดความสนใจได้ดีกว่าตัวหนังสือ การจับคู่ระหว่างภาพและคำศัพท์จึงช่วยให้นักเรียนจำศัพท์ได้เร็วขึ้น เทคนิคการท่องศัพท์นี้ทำให้การท่องศัพท์สนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ นักเรียนถูกทดสอบผ่านการเล่นเกม โดยเกมทำหน้าที่สุ่มคำศัพท์และรูปภาพให้นักเรียนจับคู่ การจับคู่ถูกหรือผิดมีผลต่อเหตุการณ์ในเกม ซึ่งในที่สุดจะนำไปสู่การชนะหรือแพ้

ถ้านักเรียนแพ้ จะเกิดแรงท้าทายให้แก้ตัวใหม่ การเล่นเกมแก้ตัวใหม่อีกครั้งเป็นการทบทวนศัพท์อีกรอบ นักเรียนจะถูกกระตุ้นให้เล่นเกมไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะชนะ เมื่อนักเรียนเล่นเกมจนจำศัพท์ได้ทุกคำ เขาจะชนะทุกครั้งที่แข่ง สร้างความภูมิใจให้พวกเขาและเป็นความสำเร็จของกุศโลบายการท่องศัพท์

... รายละเอียดเพิ่มเติม ...



สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย 2558-2567 Copyright (C) All rights reserved.